ทำความเข้าใขเกี่ยวกับ ลิขสิทธิ์เพลง

ลิขสิทธิ์เพลง

ว่ากันด้วยเรื่องของ สิทธิ์หรือลิขสิทธิ์ความเป็นเจ้าของนั้น เป็นสิ่งที่หลายๆ ต้องทำความเข้าใจกันเป็นอย่างมากเลยก็ว่าได้ครับ เพราะหากไม่ทำตามอาจทำให้เราศูนย์เสียเงินไปอย่างมากเลยหล่ะครับ  วันนี้เราเลยอยากจะพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “ทำความเข้าใขเกี่ยวกับ ลิขสิทธิ์เพลง” กันครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันดีกว่าครับผม

คำว่า “ลิขสิทธิ์” คืออะไร?

ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มิได้ เป็นการรับรองสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของสิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์ที่แจ้งไว้เท่านั้น โดยผู้แจ้งต้องรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่นำมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และหนังสือรับรองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้ ก็มิได้รับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์แต่อย่างใด หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้แจ้งจำเป็นต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ นั้นเอง

ประเภทของงานที่มีลิขสิทธิ์ มีอะไรบ้าง?

กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่

  • งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • งานนาฏกรรม เช่น งานที่เกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย
  • งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ งานศิลปะประยุกต์ ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย
  • งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสานรวมถึงโน้ตเพลงที่แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
  • งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ (ซีดี) ที่บันทึกข้อมูลเสียง ทั้งนี้ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น
  • งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป วีซีดี ดีวีดี แผ่นเลเซอร์ดิสก์ที่บันทึกข้อมูลประกอบด้วยลำดับของภาพหรือภาพและเสียงอันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก
  • งานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์นั้นด้วย (ถ้ามี)
  • งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงวิทยุ การแพร่เสียง หรือภาพทางโทรทัศน์
  • งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

ลิขสิทธิ์เพลงเป็นอย่างไร?

ลิขสิทธิ์เพลง นับเป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะในการที่สร้างสรรค์ผลงานชิ้นหนึ่งขึ้นมา โดยที่ไม่ได้ลอกเลียนงานสร้างสรรค์ของผู้อื่น จึงถือว่าเป็นทรัพย์สิน ทางปัญญาอีกประเภทหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยลิขสิทธิ์จะให้สิทธิ์แก่เจ้าของแต่เพียงผู้เดียวนั้นเองครับ

การเปิดเพลงในร้านอาหาร ผิดลิขสิทธิ์ด้วยหรือไม่?

ตามกฏมหมายได้ระบุเอาไว้ว่า “ผู้ประกอบการร้านอาหารหรือห้างร้านทั่วไปที่เปิดเพลงเพื่อแสวงหาผลกำไรโดยตรง จากการสร้างความบันเทิวหรือดึงดูดบุคคลให้เข้ามาใช้บริการต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ มิฉะนั้นจะถูกสั่งปรับได้นั้นเองครับ” จึงสรุปได้ว่า หากเป็นเพลงที่ยังติดเรื่องลิขสิทธิ์อยู่ เมื่อถูกร้องเรียนก็มีสิทธิ์เสียเงินได้นั้นเอง เพราะฉะนั้นแล้วควรตรวจสอบรายชื่อเพลงให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายทางการเงินและทางธุรกิจครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ทำความเข้าใขเกี่ยวกับ ลิขสิทธิ์เพลง” ที่เราได้หามาฝากท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้น คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อยกันนะครับ สุดท้ายนี่ขอให้ทำกิจกการกันรุ่งเรืองและขออนุญาตอย่างถูกกฎหมายกันนะครับ

You Might Also Like