ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปิดเพลงในร้านอาหาร

การเปิดเพลงในร้านอาหาร

ปัจจุบันตามร้านอาหารหรือคาเฟ่ต่างๆ นั้น มักจะเปิดเพลงต่างๆ เพื่อช่วยส่งเสริมบรรยากาศต่างๆ ภายในร้านไม่ว่าจะเป็นด้านการกินหรือด้านเสริมสร้างบรรยากาศร่วมที่ดี แต่ท่านสักเกตกันหรือไม่ครับว่า “แต่ละร้านมักจะเปิดเพลง version Cover” เกือบทั้งสิ้นเลย วันนี้เราเลยอยากจะพาทุกๆ ท่านไป “ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปิดเพลงในร้านอาหาร” ให้กับทุกๆ ท่านได้ทราบกันครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันดีกว่าครับผม

ทำความเข้าใจว่า “ทำไมจึงเปิดเพลงในร้านอาหารไม่ได้”

เพลงเป็นงานมีลิขสิทธิ์(งานดนตรีกรรม และสิ่งบันทึกเสียง)ที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือใช้ประโยชน์อื่น ๆ จากงานอันมีลิขสิทธิ์นั้น ไม่ว่าจะการเปิดเพลงไม่ว่าจากสื่อใดๆ เช่น ซีดี ดีวีดี YouTube  หรือ การร้องเพลงในร้านอาหาร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ เป็นการเผยแพร่เพลงซึ่งเป็นงานมีลิขสิทธิ์นั้นต่อสาธารณชน หากเป็นการเปิดเพลง หรือร้องเพลงเพื่อดึงดูดลูกค้า เรียกลูกค้า หรือสร้างบรรยากาศในร้านอาหาร อันเป็นส่วนหนึ่งของการทำเพื่อหากำไร

การเปิดเพลง หรือ การร้องเพลงในร้านอาหารนั้นอาจเข้าข่ายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง คือ ละเมิดสิทธิในการเผยแพร่ต่อสาธารณชน อาจถูกเจ้าหน้าที่ลิขสิทธิ์เพลงจับและดำเนินคดีในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ หรืออาจถูกฟ้องร้องเป็นคดีความได้

การละเมิดลิขสิทธิ์ คืออะไร?

การละเมิดลิขสิทธิ์ หมายถึงการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ เผยแพร่ ดัดแปลง ทำซ้ำ โดยผู้เป็นเจ้าของผลงานไม่อนุญาตหรือไม่ได้รับทราบ ปกติแล้วผลงานใดๆ อาทิ สิ่งประดิษฐ์ วรรณกรรม ศิลปกรรม ฯลฯ เป็นกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์โดยปริยาย การนำผลงานมาใช้อาจมีเงื่อนไขบางประการเรียกว่าสัญญาอนุญาต ซึ่งกำหนดโดยเจ้าของผลงานหรือกำหนดตามกฎหมาย เมื่อไม่ทำตามเงื่อนไขจึงละเมิดลิขสิทธิ์ สนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มีจุดประสงค์มุ่งให้ความคุ้มครองในเรื่องลิขสิทธิ์ และป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น สนธิสัญญากรุงแบร์น (Berne three-step test) สนธิสัญญาลิขสิทธิ์ (WIPO Copyright Treaty) และสนธิสัญญาการแสดงและสิ่งบันทึกเสียง (WIPO Performances and Phonograms Treaty) นอกจากสนธิสัญญาแล้ว ยังมีองค์กรที่ให้การคุ้มครองเพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยนั้นเอง

วิธีการเปิดเพลงไม่ให้โดดร้องเรียนเรื่องลิขสิทธิ์

  • เปิดเพลงเก่ามากที่หมดลิขสิทธิ์ไปแล้ว เพลงที่หมดลิขสิทธิ์ไปแล้วถือเป็นสมบัติสาธารณะที่ทุกคนสามารถใช้เพลงนั้นได้โดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น ร้านอาหารอาจเปิดหรือร้องเพลงแจ๊สเก่า ๆ ที่หมดลิขสิทธิ์แล้ว แต่ก็ต้องตรวจสอบให้ดีว่าเวอร์ชันที่นำมาใช้หรือนำมาเปิดต้องเป็นของต้นฉบับจริง ๆ (ที่หมดลิขสิทธิ์แล้ว) เพราะไม่เช่นนั้นอาจมีลิขสิทธิ์ในส่วนของการบันทึกเสียงได้
  • ใช้เพลงที่ศิลปินหรือค่ายเพลงอนุญาตให้ใช้ มีศิลปินบางรายหรือบางค่ายเพลงประกาศอนุญาตให้ร้านอาหาร หรือผู้ประกอบการสามารถนำเพลงของตนไปเปิดในร้านได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ เช่น T-bone, Byrd & Heart, ค่าย Summer Disc Music Label หรือค่าย Banana Record Thailand เป็นต้น โดยเราสามารถตรวจสอบได้ว่าศิลปินรายใด หรือค่ายเพลงใดที่อนุญาตให้นำเพลงไปเปิดในร้านอาหารได้จากเว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • ขออนุญาตใช้เพลงให้ถูกต้อง เราสามารถขอซื้อเพลย์ลิสต์หรือขออนุญาตนำเพลงมาร้องได้ ผ่านการขออนุญาตจะจ่ายค่าใช้ลิขสิทธิ์ ในที่นี้คือค่าใช้เพลงตามแต่ละกรณี ใช้ขอนำเพลงมาร้อง ขอนำเพลงมาเปิด เป็นต้น เราก็จะได้ใบอนุญาตใช้เพลงจากเจ้าของลิขสิทธิ์มา และสามารถเปิดเพลงหรือร้องเพลงในร้านอาหารได้อย่างถูกต้อง

การขอเปิดเพลงในร้านอาหารแบบถูกต้อง ทำอย่างไร?

  • ตรวจสอบรายชื่อบริษัทและตรวจสอบรายชื่อเพลง ของแต่ละบริษัทจัดเก็บ
  • ตรวจสอบว่าเพลงที่ต้องการใช้ มีการจัดเก็บในลิขสิทธิ์ประเภทใด
  • สิ่งบันทึกเสียง (สิ่งที่ประกอบขึ้นจากเสียงที่ได้บันทึกลงในสื่อเช่น คอมแพคท์ดิสก์, คาสเสทท์, เทป หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถบันทึกเสียงได้ หรืออีกนัยหนึ่ง คือต้องเป็นเสียงที่อยู่บนซีดี (ไม่ใช่ตัวแผ่นซีดี) จึงจะถือว่าเป็นสิ่งบันทึกเสียงได้)
  • การจ่ายค่าตอบแทนให้กับบริษัทจัดเก็บ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปิดเพลงในร้านอาหาร” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นครับ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อยกันนะครับ

You Might Also Like