3 ประเภทเพลงพื้นบ้านทางภาคเหนือที่น่าสนใจ

เพลงพื้นบ้านทางภาคเหนือ

วัฒนธรรมพื้นบ้านในแต่ละภูมิภาคนั้นก็จะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป ซึ่งในบทความนี้เราจะขอพาทุกๆ ท่านไปสำรวจเกี่ยวกับ “4 เพลงพื้นบ้านทางภาคเหนือที่น่าสนใจ” กันสักหน่อยครับ เพราะเพลงพื้นบ้านของทางภาคเหนือน่าสนใจมากเลยครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันดีกว่าครับผม

เพลงพื้นบ้านคืออะไร?

เพลงพื้นบ้าน คือ เพลงของชาวบ้านที่จดจำสืบทอดกันมาแบบปากเปล่า ใช้ร้องเล่นเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง โดยใช้คำที่ง่ายๆ เน้นเสียงสัมผัสและจังหวะการร้องเป็นสำคัญ เพลงพื้นบ้านมีลักษณะเฉพาะ คือเป็นเพลงที่ชาวบ้านอาศัยการฟังและจำ ไม่มีการจดเป็นตัวหนังสือ เนื้อร้องใช้คำง่ายๆ ใช้การปรบมือหรือใช้เครื่องประกอบจังหวะง่ายๆ ที่สำคัญต้องมีเสียงร้องรับของลูกคู่ ทำให้เกิดความสนุกสนานมากขึ้น

4 เพลงพื้นบ้านทางภาคเหนือ

เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ สามารถใช้ร้องเล่นได้ทุกโอกาส โดยไม่จำกัดฤดูหรือเทศกาลใดๆซึ่งใช้ร้องเพลงเพื่อผ่อนคลายอารมณ์และการพักผ่อนหย่อนใจโดยลักษณะการขับร้องและท่วงทำนองจะอ่อนโยน ฟังดูเนิบนาบนุ่มนวลสอดคล้องกับเครื่องดนตรีหลัก ได้แก่ ปี่ ซึง สะล้อ เป็นต้นนอกจากนี้ยังสามารถจัดประเภทของเพลงพื้นบ้านของภาคเหนือได้ 3 ประเภท คือ

  1. เพลงซอ ใช้ร้องโต้ตอบกัน โดยมีการบรรเลงปี่ สะล้อและซึงคลอไปด้วย
  2. เพลงจ๊อย เป็นการนำบทประพันธ์ของภาคเหนือมาขับร้องเป็นทำนองสั้น ๆโดยเนื้อหาของคำร้องจะเป็นการระบายความในใจ แสดงอารมณ์ความรักความเงียบเหงา มีนักร้องเพียงคนเดียวและจะใช้ดนตรีบรรเลงหรือไม่ก็ได้ เช่นจ๊อยให้กับคนรักรู้คนในใจจ๊อยประชันกันระหว่างเพื่อนฝูงและจ๊อยเพื่ออวยพรในโอกาสต่าง ๆ หรือจ๊อยอำลา
  3. เพลงเด็ก มีลักษณะคล้ายกับเพลงเด็กของภาคอื่นๆ คือเพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็กและเพลงที่เด็กใช้ร้องเล่นกันได้แก่ เพลงฮื่อลูก และเพลงสิกจุงจา

ประโยชน์ของเพลงพื้นบ้าน

เพลงพื้นบ้านนั้นจะให้ความบันเทิง มีคุณค่าให้ความบันเทิงใจแก่คนในสังคมตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะในสมัยที่ยังไม่มีเครื่องบันเทิงใจมากมายเช่น ปัจจุบันนี้เพลงพื้นบ้านเป็นสิ่งบัน เทิงชนิดหนึ่ง ซึ่งให้ความสุขและความรื่นรมย์แก่คนในสังคม ในฐานะที่เป็นการละเล่นพื้นบ้านของหนุ่ม สาว และในฐานะ เป็นส่วนสำคัญของพิธีกรรมต่าง ๆ เพลงพื้นบ้านจึงจัดเป็นสิ่งบันเทิงที่เป็นส่วนหนึ่งใน วิถีชีวิตของชาวบ้าน

2 เอกลักษณ์เด่นๆ ของวัฒนธรรมภาคเหนือ

  1. วัฒนธรรมทางภาษาถิ่น ชาวไทยทางภาคเหนือมีภาษาล้านนาที่นุ่มนวลไพเราะ ซึ่งมีภาษาพูดและภาษาเขียนที่เรียกว่า “คำเมือง” ของภาคเหนือเอง โดยการพูดจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ ปัจจุบันยังคงใช้พูดติดต่อสื่อสารกัน
  2. วัฒนธรรมการแต่งกาย การแต่งกายพื้นเมืองของภาคเหนือมีลักษณะแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติของกลุ่มชนคนเมือง เนื่องจากผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งบ่งบอกเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นถิ่น
  • หญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น หรือผ้าถุง มีความยาวเกือบถึงตาตุ่ม ซึ่งนิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงาม อาจห่มสไบทับ และเกล้าผม
  • ผู้ชายนิยมนุ่งนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า “เตี่ยว” “เตี่ยวสะดอ” หรือ “เตี่ยวกี” ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ และสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลมแขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ ที่เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน หรือคอจีนแขนยาว อาจมีผ้าคาดเอว ผ้าพาดบ่า และมีผ้าโพกศีรษะ

เป็อย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “3 ประเภทเพลงพื้นบ้านทางภาคเหนือที่น่าสนใจ” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้กัน คิดว่าน่าจะเป็นความรู้ติดตัวที่ดีสำหรับทุกคนกันนะครับ

You Might Also Like